ชื่อ ประกอบขึ้นมาจากพยัญชนะและสระ ในทางด้านอักษรศาสตร์ หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เป็นหลักฐานสำคัญทางด้านอักษรศาสตร์ของชาติ คือการปะดิษฐ์ ตัวอักษรไทย และพัฒนาต่อๆมาจนประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเอง
เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือจนถึงเมืองสุโขทัยและได้ทรงพบศิลาจารึก 2 หลัก และแท่นหินแห่งหนึ่งที่เนินประสาทเมืองเก่า วัตถุสามชิ้นนี้ราษฏรต่างเซ่นสรวงบูชา พระองค์จึงโปลดเกล้าฯ ให้ชะลอมาไว้ที่กรุงเทพฯ และพยายามอ่านศิลาจารึก จึงทราบว่า หลักหนึ่งเป็นศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อีกหลักหนึ่ง เป็นศิลาจารึกภาษาขอม ของพญาธรรมราชาลิไท แท่นหินที่พบคือพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า จารึกหลักที่ ๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ